ย้อนกลับ
SHARE

กี่ยวกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศทั้ง6

โพสเมื่อ 8 เมษายน 2022, 05:02

สิ่งที่คนไม่ค่อยรู้! เกี่ยวกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศทั้ง 6 ประเทศ


รู้หรือไม่ว่า ในต่างประเทศนั้นให้ความสนใจในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนในประเทศอย่างเดียว รัฐบาลก็มีการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มีทั้งการส่งเสริมและนโยบายต่างๆในการเพิ่มให้ประชากรในชาติหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เราได้ทำการรวม 6 ประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มีประเทศอะไรบ้าง ไปดูกันเลย


สาธารณรัฐประชาชนจีน

ประเทศจีนกำลังประสบปัญหาเนื่องจากหมอกควันพิษจากรถยนต์ตามหัวเมืองใหญ่ จนบางครั้งทัศนวิสัยไม่เกิน 100 เมตรด้วยซ้า จนทำให้รัฐบาลจีนจริงจังมากในการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ระบบ Hybrid เพื่อทดแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันให้มากและเร็วที่สุด ซึ่งช่วงแรกในการส่งเสริม เมื่อปี 2010 รัฐบาลจีนชดเชยค่าแบตเตอรี่ให้กับทุกคนที่ซื้อรถยนต์ระบบไฟฟ้า โดยรถยนต์ไฟฟ้าจะชดเชยให้ 60,000 หยวน (ประมาณ 309,000 บาท) ส่วนรถยนต์ Hybrid ชดเชยให้ 50,000 หยวน (ประมาณ 257,000 บาท) เริ่ม ที่ 5 เมืองใหญ่คือ เซี่ยงไฮ้, เสิ่นเจิ้น, หางโจว, ฉางชุน และ เหอเฟย โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมียอดจำหน่ายประมาณ 50,000 คัน แต่แล้วกลับมียอดขายเพียง 8,159 คันเท่านั้น ทางรัฐบาลจีนจึงมีการแก้ไขใหม่ โดยตั้งเงินชดเชยสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลไว้สูงสุด 9,800 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (ประมาณ 350,000 บาท) และรถบัสโดยสารไว้สูงสุด 81,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2.91 ล้านบาท) และเปิดให้รับสิทธิ์ได้ทั่วประเทศ ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งระบบไฟฟ้าและ Hybrid ช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2014 มียอดจำหน่ายถึง 31,137 คัน เพิ่มขึ้น 328%


ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกๆที่ทำการผลิตรถยนต์แบบไฟฟ้า Hybrid ออกมาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่สิ่งสำคัญในการเติบโต ส่วนหนึ่งก็มาจากการสนับสนุนของรัฐบาลอีกด้วย โดยเมื่อปี 1996 มีการสนับสนุนชดเชยราคาส่วนต่างระหว่างรถยนต์พลังงานไฟฟ้า, Hybrid, ก๊าซธรรมชาติ หรือ เมทานอล กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันปกติให้สูงสุด 50% จนถึงปี 2003 จึงยกเลิกนโยบายไป จากนั้นช่วงปี 2009 - 2012 มีการสนับสนุนหลักๆด้วยมาตรการทางภาษี ทั้งภาษีการซื้อขายที่ลดให้ 1.6% - 2.7% หรือระหว่าง 150,000 - 300.000 เยน (ประมาณ 46,000 - 92,000 บาท) สำหรับรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า, Fuel Cell, Plug-In Hybrid, Hybrid, ดีเซลสะอาด และ ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งยังมีการลดภาษีประจำปีให้ 50% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงปี 2009-2010 ด้วย และต่อมาก็มีมาตรการเงิน ชดเชยสำหรับคนที่ซื้อรถใหม่ที่เป็นแบบรักษาสิ่งแวดล้อม ถ้าเป็นขนาดเล็กและขนาดมาตรฐานรับ 100,000 เยน (30,000 บาท) รถขนาดจิ๋วและ Kei Car รับ 50,000 เยน (15,000 บาท) ส่วนรถบรรทุกและรถบัสจะได้รับระหว่าง 400,000 - 1,800,000 เยน (122,000 - 553,000 บาท)


เกาหลีใต้

ในเดือนกรกฎาคม 2016 ทางรัฐบาลเกาหลีได้ประกาศแผนส่งเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น ด้วยมาตรการหลายอย่าง ทั้งลดภาษีซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 14 ล้านวอน (ประมาณ 416,000 บาท) รวมทั้งได้สิทธิ์ในการซื้อประกันภัยในราคาพิเศษ, ส่วนลดค่าที่จอดรถและทางด่วน และทางรัฐบาลยังเพิ่มแผนงานในการสร้างสถานีเติมไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วให้มีทุกๆ 2 กิโลเมตรในกรุงโซล และอีก 30,000 สถานี ชาร์จแบบช้าติดตามอพาร์ทเม้นท์ 4,000 แห่งทั่วประเทศภายในปี 2020


นอร์เวย์

นอร์เวย์ถือเป็นอีกประเทศที่มีการส่งเสริมการใช้งานพลังงานสะอาด โดยเฉพาะรถยนต์ ที่มีการส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ โดยไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 25% ของราคารถ, ไม่เก็บค่าทางพิเศษ, ไม่เก็บค่าจอดรถในที่จอดของรัฐ, ใช้งานบัสเลนได้ในชั่วโมงเร่งด่วน และนำรถยนต์ขึ้นเรือเฟอร์รี่ได้ฟรี จนปัจจุบันมีรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนแล้วกว่า 100,000 คัน ถือเป็นประเทศที่มีรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลกไปแล้ว


ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเริ่มมีนโยบายการลดมลพิษจากไอเสียตั้งแต่ปี 2008 แต่ที่เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าจริงๆจะเริ่มช่วงปี 2012 เป็นต้นมา เริ่มต้นด้วยเงินชดเชยพิเศษให้สำหรับรถที่ปล่อยไอเสียไม่เกิน 125 กรัม/กิโลเมตร รับเงินชดเชย 20% ของราคารถแต่ไม่เกิน 2,000 ยูโร (ประมาณ 75,400 บาท) และรถที่ปล่อยไอเสียไม่เกิน 60 กรัม/กิโลเมตร รับเงินชดเชย 20% ของราคารถแต่ไม่เกิน 5,000 ยูโร (ประมาณ 188,600 บาท) แต่ภายหลังได้เพิ่มเงินชดเชยสำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 30% ของราคารถแต่ไม่เกิน 7,000 ยูโร (ประมาณ 264,000 บาท) และเมื่อถึงปี 2015 ได้ปรับนโยบายใหม่ให้คนเปลี่ยนจากเครื่องดีเซลมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยการชดเชยการซื้อ รถยนต์ไฟฟ้าใหม่จานวน 6,300 ยูโร (ประมาณ 237,000 บาท) และถ้านำรถยนต์เครื่องดีเซลรุ่นที่ซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2001 มาแลก จะเพิ่มเงินชดเชยให้อีก 3,700 ยูโร (ประมาณ 139,600 บาท) และนโยบายล่าสุดที่เพิ่งเริ่มต้นในปี 2017 นั้น ถึงจะมีการลดการจ่ายชดเชยการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจาก 6,300 ยูโรเป็น 6,000 ยูโร (ประมาณ 226,000 บาท) แต่มีการเพิ่มเงินชดเชยสำหรับคนที่นำรถยนต์เครื่องดีเซลที่มีอายุการใช้งานเกิน 10 ปีมาแลก เพิ่มให้เป็น 4,000 ยูโรแทน (ประมาณ 150,000 บาท)


เยอรมนี

ทางการเยอรมนีประกาศอย่างชัดเจนว่าจะเป็นผู้นำตลาดด้านรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ โดยตั้งเป้าหมายว่าบนถนนจะมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งอยู่ 1 ล้านคันภายในปี 2020 เริ่มต้นด้วยการงดเก็บภาษีรถยนต์รายปีจำนวน 5 ปี ก่อนจะมาเพิ่มเป็น 10 ปีเมื่อ 1 มกราคม 2016 และช่วยชดเชยในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับใช้ส่วนตัวไว้สูงสุด 5,000 ยูโร (ประมาณ 188,600 บาท) และรถยนต์ของบริษัทรับเงินชดเลย 3,000 ยูโร (ประมาณ 113,000 บาท) และจะลดลงปีละ 500 ยูโรทุกปีจนกว่าจะหมด เริ่มต้นนับตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2016 แถมในเดือนมีนาคมปี เดียวกัน Nissan ยุโรปยังประกาศส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยการให้ส่วนลดของผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของ Nissan ทุกคันเท่ากับเงินที่ทางรัฐบาล เยอรมนีชดเชยให้จนกว่าจะครบมาตรการเช่นกัน

2.7 เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์ตั้งเป้าว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าบนถนนให้ได้ 1 ล้านคันภายในปี 2025 โดยเริ่มมาตรการแรกด้วยการงดเก็บภาษีจดทะเบียน รถยนต์และภาษีประจาปี ถ้าเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลงดเว้นให้ 4 ปี เฉลี่ยลดค่าใช้จ่ายได้รวม 5,324 ยูโร (ประมาณ 200,000 บาท) และรถยนต์ขององค์กรรวม 5 ปี ลดได้ประมาณ 19,000 ยูโร (ประมาณ 716,000 บาท) แถมยังมีนโยบายสำหรับผู้ที่นำไปซื้อรถไฟฟ้า เพื่อทา Taxi และรถ Van ขนส่งคน โดยจะมีเงินชดเชยให้ 3,000 ยูโร (ประมาณ 113,000 บาท) รวมทั้งในเมืองอัมสเตอร์ดัมยังมีที่จอดรถพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ, ชาร์จไฟฟ้าฟรีในที่จอดรถสาธารณะ ส่วนที่เมืองร็อตเตอร์ดัม มีที่จอดรถให้ฟรีใจกลางเมืองนาน 1 ปี และชดเชยค่าติดตั้งแท่นชาร์จที่บ้าน 1,450 ยูโร (ประมาณ 54,700 บาท)


ประเทศเหล่านี้ล้วนแล้วได้รับการส่งเสริมและนโยบายจากรัฐบาลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างมาก นอกจากจะมีนโยบายช่วยเหลือให้ประชาชนซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ได้ง่ายแล้ว อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแล้วยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

กำลังโหลดหน้าเว็บ
Line logo